หน่วยอนุพันธ์ (derived units)

เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยพื้นฐานทั้ง เจ็ดมาคูณหรือหารกัน(มาใช้ร่วมกัน) หน่วยอนุพันธ์มีหลายหน่วยซึ่งมีชื่อและสัญลักษณ์ที่กำหนดโดยเฉพาะ

ตารางแสดงตัวอย่างหน่วยอนุพันธ์

ชื่อหน่วยอนุพันธ์ สัญลักษณ์ของหน่วย เทียบเป็นหน่วยหลัก
เฮิรตซ์ ( hertz ) Hz 1 Hz  = 1 s-1
นิวตัน ( Newton ) N 1 N  =  1 kg.m / s2
จูล ( joule ) J 1 J  = 1 N.m
จูล ( joule ) J 1 J  = 1 N.m
พลาสคาล ( Pascal ) Pa 1 Pa  = 1 N/m
วัตต์  ( watt ) W 1 W  = 1 J / s

 

ตารางแสดงตัวอย่างการใช้หน่วยอนุพันธ์กับปริมาณทางฟิสิกส์

ปริมาณ สัญลักษณ์ของหน่วย
ความถี่ Hz
แรง     น้ำหนัก N
     งาน J
พลังงาน J
ความดัน Pa
กำลัง W

 

นอกจากนี้ในการใช้หน่วยมีการใช้ คำอุปสรรค   ( prefixes)  เติมข้างหน้าหน่วยระบบเอสไอ คำที่เติมเป็นเลขสิบยกกำลังต่างๆ        มีชื่อเรียกกันต่างๆดังตาราง

เลขสิบยกกำลัง ชื่อคำอุปสรรค สัญลักษณ์ของคำอุปสรรค
1018 เอ็กซ์สะ (exa) E          
1015 เปตะ (peta) P
1012 เทอรา (tera) T
109 จิกะ (giga) G
106 เมกะ (mega) M
103 กิโล (kilo) k
102 เฮกโต (hecto) h
101 เดคะ (deca) da
10-1 เดซิ  (deci) d
10-2 เซนติ (centi) c
10-3 มิลลิ (milli) m
10-6 ไมโคร ( micro) m
10-9 นาโน  (nano) n
10-12 พิโค (pico) p
10-15 เฟมโต (femto) f
10-18 อัตโต (atto) a

 

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/srithongkasorn/raywicha-thi-sxn/withyasastr-xutsahkrrm/bth-thi1priman-thang-fisiks-laea-raeng

หน่วยเสริม (supplimentary units)

เป็นหน่วยวัดพิเศษที่แยกจากหน่วยมูลฐานและหน่วยอนุพันธ์

หน่วย                                                             สัญลักษณ์
เรเดียน (radian) rad
สเตอเรเดียน (steradian ) sr

 

หน่วยเสริมใช้กับปริมาณ มุมระนาบ  มุมตัน

ปริมาณ หน่วยเสริม
มุมระนาบ (plane angle) rad
มุมตัน (solid angle) sr

 

 

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/srithongkasorn/raywicha-thi-sxn/withyasastr-xutsahkrrm/bth-thi1priman-thang-fisiks-laea-raeng

 

 

หน่วยมูลฐาน (Basic units)

หน่วยมูลฐานที่ใช้ในระบบเอสไอมี 7 หน่วยดังนี้

หน่วย สัญลักษณ์
เมตร  (meter) m
วินาที  (second) S
กิโลกรัม (kilogram) kg
เคลวิน (kelvin) K
แอมแปร์ (ampere) A
โมล (mole) mol
แคนเดลา (candala) cd

 

หน่วยมูลฐานเหล่านี้ใช้กับปริมาณทางฟิสิกส์  ดังนี้   ความยาว  มวลสาร   เวลากระแสไฟฟ้า   อุณหภูมิ      ปริมาณสาร       ความเข้มแห่งการส่องสว่าง

ปริมาณ หน่วยมูลฐาน
ความยาว (length ; l) m
เวลา (time ; t ) S
มวล (mass ; m ) kg
อุณหภูมิ (temperature ;T) K
กระแสไฟฟ้า (electric current ; I ) A
จำนวนอนุภาค (number of particles ; n) mol
ความเข้มแห่งการส่องสว่าง (luminous intensity ; lv) cd

 อ้างอิง : https://sites.google.com/site/srithongkasorn/raywicha-thi-sxn/withyasastr-xutsahkrrm/bth-thi1priman-thang-fisiks-laea-raeng

หน่วยของปริมาณทางฟิสิกส์

การใช้หน่วยในปริมาณทางฟิหน่วยของปริมาณทางฟิสิกส์สิกส์มีการกำหนดการวัดมาตรฐานขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า   ระบบเมตริก  และที่ประเทศอังกฤษ เรียกว่า  ระบบอังกฤษ          ต่อมาในปัจจุบันได้มีการกำหนดหน่วยสากลขึ้นมาใช้ เรียกว่า   ระบบหน่วยระหว่างชาติ  ( System International of Units ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า    หน่วยเอสไอ   ( SI Systeme ) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยมูลฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในการวัดทางวิทยาศาสตร์

ปริมาณเวกเตอร์

ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องกำหนดทั้งขนาดและทิศทางจึงจะมีความหมาย ตัวอย่างของปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง เป็นต้น เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง การคำนวณจึงต้องมีวิธีการที่แตกต่างออกไปจากการคำนวณในระบบจำนวน ไม่สามารถดำเนินการบวก ลบ คูณ หารแบบธรรมดาได้ จึงต้องใช้วิธีการคำนวณเวกเตอร์โดยเฉพาะ จำนวน 0 ในปริมาณเวกเตอร์ เป็นปริมาณที่ไม่มีค่าจริง ๆ ปริมาณเวกเตอร์จึงไม่มีค่าเป็นลบ เครื่องหมายในปริมาณเวกเตอร์ใช้บอกทิศทางของเวกเตอร์ เวกเตอร์ที่มีเครื่องหมายเหมือนกันทิศทางเดียวกัน เวกเตอร์ที่มีเครื่องตรงกันข้ามทิศทางตรงกันข้าม

 

อ้างอิง : https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20100820222618AAfooLp

ปริมาณสเกลลาร์

ปริมาณสเกลลาร์ คือ ปริมาณที่กำหนดแต่เพียงขนาดก็มึความหมาย ตัวอย่างของปริมาณสเกลลาร์ ได้แก่ จำนวนนับของสิ่งของโดยทั่วไป ระยะทาง เวลา พื้นที่ งาน พลังงาน กระแสไฟฟ้า เป็นต้น การคำนวณปริมาณสเกลลาร์ สามารถดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกับการคำนวณในระบบจำนวนทั่ว ๆ ไป จำนวน 0 ของปริมาณสเกลลาร์ เป็น 0 อ้างอิง ไม่ได้หมายความว่ามีค่าเป็นศูนย์จริง เช่น อุณหภูมิ 0 เซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าวัดอุณหภูมิไม่ได้ แต่กำหนดให้อุณหภูมิขณะนั้นเป็นศูนย์ และอุณหภูมิ -1 เซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์เซลเซียสอยู่ 1 เซลเซียส เป็นต้น ปริมาณสเกลลาร์ที่เป็นลบจึงเป็นปริมาณที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์

ปริมาณทางฟิสิกส์

ปริมาณ (Quantity)

วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาทดลอง จดบัทึกมารวบรวมเป็นกฎ ทฤษฎี เพื่อเป็นความรู้ในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการศึกษาวิทยาศาสร์เป็นการศึกษา2 ส่วนคือ เชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาบรรยายเชิงข้อมูลพรรณนา ตามสภาพการรับรู้ของมนุษย์ เช่น การบรรยายรูปลักษณะ สี กลิ่น รส และเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงตัวเลข ซึ่งได้จากการสังเกต และเครื่องมือวัด เช่น ความยาว มวล เวลา ปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์แบ่งออกได้เป็น

ปริมาณในทางฟิสิกส์ มี 2 ปริมาณ คือ

  1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar) เป็นปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียว เช่น มวล , อัตราเร็ว , พลังงาน ฯลฯ
  2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector) เป็นปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง เช่น ความเร็ว , ความเร่ง , การกระจัด , แรง ฯล

อ้างอิง : https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_2000_1420_science_industry/wiki/1a89f/